ชีวิตที่ไม่คาดหวัง
“นักเขียนส่วนใหญ่จะรู้สึกทุกข์ทรมานเมื่อต้องเจอกับช่วงเวลาที่ความคิดตีบตัน เมื่อเขานั่งลงเขียน แต่กระดาษตรงหน้า
กลับว่างเปล่า ไม่มีความคิดที่ดีพอ และถ้อยคำที่ผ่านเข้ามาในหัวก็ล้วนน่าเบื่อและไร้ประโยชน์
ดีพัก โชปรา (Deepak Chopra) ยกเรื่องของเฮมิงเวย์เป็นตัวอย่ างของคนที่ล้มเหลวเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความเครียด
ซึ่งจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับดีกรีของความคาดหวัง
ก่อนหน้าวันที่ 2 กรกฎาคม 1961 คงไม่มีใครคาดคิดว่าเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (Ernest Hemingway ค.ศ. 1899 – 1961)
นักเขียนเจ้าของรางวัลโนเบลจะมีจุดจบเช่นนี้ มันสืบเนื่องมาจากความกลัดกลุ้มเ พ ร า ะเขาได้รับมอบหมายให้เขียน
คำสดุดีในงานฉลองรับตำแหน่งของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้
เฮมิงเวย์รู้สึกถูกกดดันจากชื่อเสียงของตัวเอง ทำให้เขาเขียนไม่ออกและตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าอย่ างรุนแรง รวมกับประวัติ
ส่วนตัวที่มีอาการติดเหล้าและมีคนในครอบครัวเคยอย ากจากโลกนี้ไป เฮมิงเวย์จึงตัดสินใจจบชีวิตด้วยการยิงตัวเอง
ดีพักอธิบายว่า การคาดการณ์ไม่ได้ (unpredictability) และความไม่แน่นอน (uncertainty) เป็นเหมือนด้านสองด้านของ
เหรียญอันเดียวกัน คือเมื่อพูดถึงสิ่งหนึ่ง คนก็มักจะนึกถึงอีกสิ่งหนึ่งโดยอัตโนมัติ ทว่าทั้งสองอย่ างนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง
“คนที่คาดหวังก็มักจะเจอกับความผิดหวัง
แต่คนที่ใช้ชีวิตไปตามปกติบนความไม่แน่นอน
(ที่ใครๆ ก็ต้องเจอเหมือนกัน) มักจะประสบความสำเร็จ”
คนที่อยู่กับความคาดหวังมีโอกาสเป็นโรคเครียดสูงมาก เ พ ร า ะคิดว่าชีวิตคือสูตรสำเร็จ ใส่ส่วนผสมแบบนี้ต้องได้ผลลัพธ์
ออกมาแบบนี้ ทั้งที่จริงๆ แล้วชีวิตเต็มไปด้วยเรื่องคาดเดาไม่ได้
ส่วนคนที่อยู่กับความไม่แน่นอนอาจจะไม่รู้ว่ามีอะไรรออยู่ข้างหน้า ซึ่งทำให้เกิดความเครียดได้เช่นกัน แต่ความไม่แน่นอน
ก็จะกลายเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาช เ พ ร า ะถ้ามนุษย์รู้ทุกสิ่งทุกอย่ าง คงไม่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นโลกนี้
คงน่าเบื่อ และสิ่งเดียวที่มนุษย์ต้องใช้ในการแปรเปลี่ยนความไม่แน่นอนให้กลายเป็นโอกาสคือ ความคิดสร้างสรรค์
ถ้าความแน่นอนมีจริง คุณหมอหนุ่มน่าจะมีความสุขกับชีวิตมาก ทว่าความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม ภาระหน้าที่ที่หนักหน่วง
ทำให้ดีพักใช้ชีวิตอย่ างไม่ใส่ใจ ดื่มกาแฟทีละกา สูบบุหรี่ วันละหลายซอง และนอนไม่หลับเลยถ้าไม่ได้ดื่มเหล้าสก็อตช์
อย่ างไรก็ดีท่ามกลางชีวิตที่วุ่นวายยุ่งเหยิงเขาก็เริ่มเห็นสิ่งที่แพทย์ด้วยกันมองข้ามนั่นคือการแพทย์สมัยใหม่ไม่สามารถ
ช่วยคนไข้ได้อย่ างแท้จริง
“ทั้งหมดที่ผมทำคือการดูแลอาการของผู้ป่วยคนแล้วคนเล่า
และเขียนใบสั่งย าราวกับว่าเป็นเซลส์ที่ปั่นยอดใบสั่งย าเท่านั้น”
วันหนึ่งในปี 1983 ดีพักได้เจอหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับการทำสมาธิแบบทีเอ็ม* ซึ่งคิดค้นโดย มหาริชี มเหช โยคี (Maharishi
Mahesh Yogi) หลังจากอ่านจบ ดีพักก็ปฏิบัติตามวิธีที่บอกไว้ในหนังสือ และยังชวนภรรย าให้ปฏิบัติด้วย จนในที่สุดสามารถ
เลิกพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเก่าได้ภายในเวลาแค่ 2 เดือน
เขาและภรรย าตัดสินใจเดินทางไปที่ประเทศอินเดีย เพื่อศึกษาศาสตร์การรักษาแบบอินเดียโบราณ ดีพักได้เข้าคอร์สของ
มหาริชี มเหช โยคี และได้ร่ำเรียนศาสตร์การรักษาแบบองค์รวม ที่ใช้สมุนไพรและการทำโยคะร่วมกับการทำสมาธิ ซึ่ง
เรียกรวมกันว่า อายุรเวท กับโยคีท่านนี้ เมื่อกลับมาถึงสหรัฐอเมริกา เขาได้เปิดศูนย์การรักษาแบบอายุรเวท และเป็น
ตัวแทนขายผลิตภัณฑ์จำพวกสมุนไพรตำรับมหาริชีด้วย (แต่ภายหลังได้แยกตัวเป็นเอกเทศ)
ปี 1985 ดีพักกลายเป็นคุณหมอที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประสานศาสตร์การรักษาแบบตะวันตกและตะวันออกเข้าไว้ด้วยกัน
เป็นคนแรก เขาให้ความสำคัญกับจิตใจของคนไข้อย่ างที่ไม่เคยมีหมอในโลกตะวันตกคนไหนเคยทำมาก่อน และสามารถ
ช่วยผู้ป่วยให้หายได้จริง แม้แต่คนที่เป็นมะเร็งขั้นสุดท้ายก็รักษาหายมาแล้ว (หรือแม้ไม่หาย คนไข้ก็จะสบายใจขึ้น) ส่วน
คนที่ไม่ป่วยกายแต่ป่วยใจ ก็ได้พลังชีวิตจากการอ่านหนังสือหรือฟังการบรรย ายของเขาทำให้ดีพักได้รับรางวัลด้านการ
แพทย์นับไม่ถ้วน ในปี 1999 นิตยสาร ไทม์ ยกย่องให้ดีพักเป็นหนึ่งในร้อยบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกในศตวรรษที่ 20
แม้แต่ เลดี้กาก้า นักร้องสาวที่ดังที่สุดของปีนี้ก็ยังออกปากว่า ดีพักคือคนที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเธอมากที่สุด
ในเบื้องต้นดีพักจะสอนให้คนไข้ลดความเครียดของตัวเองด้วยการฟังเสียงเตือนจากร่างกาย เขายังให้คนไข้ปรับวิธีการใช้
ชี วิ ต เช่น กิ น ใ ห้ ถูกวิธี ปฏิบัติสมาธิ มองโลกในแง่บวก และที่พูดถึงมากที่สุดคือ ให้มี จิตสำนึกของจักรวาล (Cosmic
Consciousness) ดีพักอธิบายว่า เนื้อแท้ของมนุษย์คือจิตสำนึก (Consciousness) ซึ่งทุกคนสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้
ถ้าเราอย ากให้โลกสงบสุขวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือหาความสงบให้ตัวเอง ไม่ตัดสินคนอื่น ให้อภัยไม่โกรธแค้น ฯลฯ เ พ ร า ะ
เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน
“เมื่อใดก็ตามที่คุณตระหนักถึงจิตวิญญาณที่อยู่ในสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว เช่น เมื่อมองดอกไม้ คุณเห็นความงดงามล้ำค่าของมัน
เมื่อมองโทรศัพท์สักเครื่อง โต๊ะสักตัว รองเท้าสักข้าง แล้วมองเห็นความไม่สิ้นสุดของมัน เมื่อนั้นความเป็นนิรันดร์จะปรากฏ
อยู่ทุกหนทุกแห่ง…คุณจะเห็นโลกทั้งใบที่สร้างขึ้นจากมือของตัวเอง”
ชีวิตที่เต็มไปด้วยความสับสนในอดีต คลี่คลายมาเป็นชีวิตที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน ทำให้ดีพักมั่นใจอย่ างเต็มที่ที่จะ
ส่งสารออกไปว่า ชีวิตอยู่ในกำมือของเรา…ชีวิตยุ่งเหยิงได้ ล้มเหลวได้ เครียดได้ ช้าได้ หยุดได้ และพัฒนาได้เช่นกัน…
แต่อย่ าลืมว่า เราต้องอยู่ด้วย ความหวัง ไม่ใช่ความคาดหวัง