
ในอดีต ดิฉันและสามีไม่ได้มีฐานะดีนัก แต่เราทั้งคู่ก็ช่วยกันสร้างเนื้อสร้างตัวจนพอมีเงินเก็บ จึงเดินทางมา
ตั้งรกรากในเมืองกรุง และหาซื้อบ้านหลังเล็กๆ น่ารักเพื่อสร้างครอบครัวที่อบอุ่นอยู่ด้วยกัน ไม่เคยคิดเลย
ว่าต่อมาบ้านหลังนี้จะกลายเป็น “บ้านที่หนึ่ง” โดยที่ดิฉันไม่ทันได้ตั้งตัว!
สามีของดิฉันเป็นคนค่อนข้างหน้าตาดี ดูภูมิฐาน แต่เขามีอาชีพที่ต้องเดินทางตลอด จะกลับบ้านอาทิตย์ละสองวันเท่านั้น
บางครั้งจึงมีเสียงลือเรื่องผู้หญิงแว่วมาเข้าหูแต่ดิฉันก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรเ พ ร า ะสามีเคยให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ “ยุ่ง”กับใคร
ดิฉันเองก็ถือว่า เมื่ออยู่ในบ้าน สามีคือของเรา แต่พอออกนอกบ้าน เขาก็เป็นของคนอื่น เราจะไปตามเช็กเขาตลอด 24
ชั่วโมงคงไม่ได้ จึงได้แต่เพียง “ไว้ใจ” เขาเท่านั้น เวลาผ่านไป เราสองคนมีลูกสาวและลูกชายที่น่ารัก ดิฉันเฝ้าดูลูก ๆ
เติบโตขึ้นอย่ างชื่นใจ จนกระทั่งสังเกตว่าร่างกายตัวเองเริ่มมีอาการแปลกๆ จึงไปหาหมอ
“คุณติดโรคทางเพศสัมพันธ์นะครับ” คำพูดของชายในชุดกาวน์ตรงหน้าทำเอาดิฉันสะอึก พลางนึกสงสัยว่าตัวเองจะติด
โรคได้อย่ างไร ในเมื่อเรามีสามีเพียงคนเดียวแต่ผลที่ออกมาทำให้คำตอบคงเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจากสามีไม่ได้มีเรา
เพียงคนเดียว!
การกระทำของเขาทำให้ดิฉันเจ็บปวดมาก แต่ดิฉันก็ยอมยกโทษให้ เ พ ร า ะเชื่อมั่นในความรักที่เราบ่มเพาะกันมานาน
กว่า 10 ปีทอย่ างไรก็ดี หลังจากครั้งนั้นสามีดิฉันก็ยังคงทำตัวเป็น “คนขี้สงสาร” เหมือนเดิม ด้วยการรับเลี้ยงดู
“ผู้หญิงที่น่าสงสาร” คนแล้วคนเล่า…ไม่เคยพอ
จากความอดทนเริ่มกลายเป็นความชินชา ดิฉันคิดแค่ว่าตราบใดที่เราแม่ลูกไม่เดือดร้อน ก็ปล่อยให้เขาทำตามใจต่อไป
เ พ ร า ะดิฉันก็ยังอย ากให้ลูกได้มี “พ่อ” แต่เมื่อใดที่ครอบครัวเราเริ่มได้รับความกระทบกระเทือนดิฉันก็จะกอดทะเบียน
สมรสเดิน “บากหน้า” ไปขอความ “เมตตา” จาก บ้านที่สอง…สาม…สี่…
…ได้จดทะเบียนเป็นเมียหลวงแล้วอย่ างไร…เป็นบ้านที่หนึ่งแล้วได้เปรียบคนอื่นตรงไหน…
ดิฉันได้แต่นึกสงสัย…นอกจากศักดิ์ศรีลูกผู้หญิงคนหนึ่งที่พังยับเยินเ พ ร า ะผู้ชายที่ได้ชื่อว่าเป็นสามี…ดิฉันก็ไม่เห็นจะได้
อะไร นอกจากกระดาษแผ่นหนึ่งที่ลงชื่อของดิฉันและสามีไว้ใกล้ๆ กัน
“ช่วยเห็นใจฉันและลูกด้วยเถอะ” ทันทีที่ได้เจอ “เด็กๆ” ของสามี ดิฉันก็ได้แต่ขอร้องพวกเธอทั้งน้ำตา และจะด้วยความ
สงสาร รำคาญ หรือเวทนาก็ตามที พวกเธอมักจะยอมหลีกทางให้แต่โดยดี
จนกระทั่งวันหนึ่ง เมื่อดิฉันได้ยินประโยคนี้…ความอดทนก็สิ้นสุดลง!“พี่อย ากพาน้องคนหนึ่งมาอยู่บ้านของเรา น้องจะ
อนุญาตให้พี่พาเขามาอยู่ด้วยได้ไหม”ราวกับฟ้าผ่าลงมาตรงหน้าผู้ชายที่ได้ชื่อว่าเป็น “สามี” ของฉันกำลังเอ่ยปากขอ
พาผู้หญิงอีกคนเข้ามาอยู่ในบ้าน “ของเรา”!!! ดิฉันพูดอะไรไม่ออก ปฏิเสธไปทันทีว่า จะไม่ยอมให้ผู้หญิงอายุคราว
ลูกคนนั้นก้าวเข้ามาในอาณาเขตบ้านหลังนี้เป็นเชียว สามีของดิฉันจึงเป็นคนก้าวออกไปเอง!
จากที่กลับบ้านอาทิตย์ละ 2 ครั้ง เขาก็เริ่มไม่กลับบ้านลูกๆ ที่กำลังย่ างเข้าสู่วัยรุ่นเริ่มถามหาและพย าย ามจะโทร.หาพ่อ
แต่พอได้ยินเสียงลูก คนเป็น “พ่อ” ก็ตัดสายทิ้ง ทุกครั้งทั้งที่ยังไม่ได้คุย กันเลยสักคำ แล้ววันหนึ่งก็มีเสียงปริศนาตอบ
กลับมาว่า “พ่อเขาไม่รักลูกแหง่แบบแกหรอก!” วันนั้นดิฉันเห็นลูกสาวนั่งสะอื้นจนตัวโยนอยู่ข้างโทรศัพท์บ่อยครั้งที่สามี
ของดิฉันเป็นฝ่ายโทร.มาตำหนิดิฉันว่า “เธอไปด่าน้องเขาทำไม…ทีหลังอย่ าทำอีกนะ!” ได้ยินแล้วดิฉันก็ได้แต่สะอื้น
อยู่ภายในใจคนเดียว
ครั้งหนึ่งผู้หญิงคนนั้นจ้างเด็กผู้ชายให้โทรศัพท์มาหาลูกชายของดิฉันทันทีที่ลูกชายรับโทรศัพท์ฝ่ายนั้นก็ทำเสียงล้อเลียน
ว่า “…พ่อมึงไม่สนใจเด็กอย่ างมึงแล้ว…ไอ้เด็กพ่อทิ้งๆๆ” มือข้างที่ถือโทรศัพท์ของเขากำแน่นจนเห็นเส้นแดงในร่างกาย
ตาเขาแดงก่ำ ทั้งโกรธและเสียใจทันทีที่วางโทรศัพท์ลง ลูกชายของฉันก็คว้าฝาขวดน้ำอัดลมมากรีดลงบนข้อมือของ
ตัวเองจนของในร่ายกายไหลออกมา เพื่อระบายความคับแค้นใจ!
…ทำไมพ่อถึงยอมให้ผู้หญิงของตัวเองมาทำแบบนี้กับเขา…
…พ่อทิ้งเขาแล้วจริงๆ หรือ…
เขาได้แต่ถามตัวเองอยู่อย่ างนั้นซ้ำไปซ้ำมา ทว่าไร้ซึ่งคำตอบ…
เมื่อผู้หญิงคนนั้นรบกวนดิฉันและลูกหลายครั้งเข้า ดิฉันจึงตัดสินใจโทรศัพท์ไปคุยกับเธอให้รู้เรื่อง“เธอทำแบบนี้กับพี่
พี่ทนได้ แต่อย่ ามาทำกับลูกพี่และต่อไปข้างหน้าก็อย่ าทำกับคนอื่น เ พ ร า ะมันเป็นบาปกรรมเธอจะเอาสามีพี่ก็เอา
ไปเลย พี่ขอให้เธอมีความสุข แต่เธอทำอะไรไว้กับพี่ ก็ขอให้เธอได้รับอย่ างที่พี่ได้รับก็แล้วกัน!”
ช่วงเวลานั้นบ้านของเราถูกความเศร้าเข้าปกคลุม ไร้ซึ่งรอยยิ้มและเสียงหัวเราะอย่ างเคย ลูกๆ เริ่มมีอาการของโรค
เครียดจนต้องพาไปพบจิตแพทย์
ก่อนหน้านี้บ้านเรายังพอมีเงินบ้าง แม้ว่าสามีของดิฉันจะเลี้ยง “เด็ก” ไว้มากมาย แต่เราก็ไม่เคยเดือดร้อนเรื่องค่าใช้
จ่ายจนเมื่อผู้หญิงคนนี้ก้าวเข้ามา เงินทั้งหมดที่เคยเลี้ยงดูภรรย าและลูกเริ่มละลายหายไป
แม้แต่สวนย างทางภาคใต้ที่เราสองคนก่อร่างสร้างตัวร่วมกันมา สามีก็จัดการขายทิ้งแล้วนำเงินไปให้ผู้หญิงคนนั้นเปิด
ร้านขายของ ดิฉันได้แต่คับแค้นใจ
…บางทีความรับผิดชอบของสามีคงสูญสลายไปพร้อมกับความรักของเราทั้งคู่แล้วกระมัง…
“พี่ สามีพี่ยืมเงินผมหลายพันเลย” บางคราญาติฝ่ายสามีก็โทร.มาทวงหนี้ที่ดิฉันไม่เคยมีส่วนร่วม เ พ ร า ะเขาถือเป็น
ความรับผิดชอบร่วมกันของสามี - ภรรย าที่เป็นดั่ง “คนคนเดียวกัน” ด้วยเหตุนี้ ดิฉันจึงต้องประหยัดอดออมกินน้อย
ใช้น้อยเพื่อส่งลูกเรียน จ่ายค่าผ่อนบ้าน และใช้หนี้ที่สามีก่อไว้
สุดท้ายดิฉันก็ตัดสินใจหย่ าจากผู้ชายที่ “ไม่เคยพอ” คนนี้ ตอนแรกเขาไม่ยอมหย่ า เ พ ร า ะกลัวว่าจะไม่มี “บ้าน”
ที่เป็น “ของเก่า” แต่ในที่สุดฉันก็หย่ าได้สำเร็จ
หลังจากหย่ า ดิฉันยังคงบอกให้ลูกโทร.หาพ่อเสมอๆ เ พ ร า ะว่ายังไงเขาก็คือ “พ่อ” ซึ่งถือเป็นพระพรหมของลูก
ฉันสอนลูกเสมอว่า “ลูกต้องรักพ่อ รักแม่ และสำคัญที่สุด ลูกต้องรักตัวเอง ดูแลตัวเอง ถ้าเกิดอะไรขึ้น เราจะได้
ไม่เสียใจ…อย่ ารักคนอื่นมาก ไม่งั้นจะทุกข์มาก เ พ ร า ะมันจะบั่นทอนชีวิตของเรา ไม่มีเขาเราต้องไม่เป็นไร”
เวลาผ่านไป ดิฉันและลูกเริ่มอยู่ได้ด้วยตัวเอง ความสุขกลับมาเป็นของเราอีกครั้ง แต่แล้วจู่ๆ วันหนึ่ง ผู้หญิงคนนั้น
ก็โทร.มาหาดิฉันพร้อมกับบอกว่า
“พี่คะ แฟนพี่หายไปหลายวันแล้ว ถ้าเขากลับไปหาพี่หนูจะไม่ว่าเลย แต่เขาต้องไปหาอีนังนั่นแน่…หนูทนไม่ได้!!!”
เธอคร่ำครวญจนดิฉันต้องบอกให้ไปจัดการกันเองและรีบวางสายบางครั้งผู้หญิงคนนั้นก็โทรศัพท์มาหาลูกชายดิฉัน
พร้อมกับเล่าวีรกรรมของ “พ่อ” ที่หนีเธอไปหาผู้หญิงอื่นให้ลูกชายฟังและล่าสุดดิฉันได้ทราบว่าผู้หญิงคนนั้นได้
รับในสิ่งที่เคยทำไว้กับดิฉันแล้ว…
ห ลั ง จากที่อดีตสามีของดิฉันทิ้งเธอไป เธอก็มีแฟนใหม่ ทว่าเมื่อตั้งท้อง เธอกลับถูกฝ่ายชายเขี่ยทิ้งจนต้องบากหน้า
ก ลั บ ไ ป ห า อ ดี ต สามีของดิฉัน ขอให้เขารับเป็นพ่อของเด็ก แต่ก็อย่ างที่ทราบกันดี เมื่อผู้ชายมีใหม่ เขาย่อมไม่
กลับไป “กินของเก่า” อีก สุดท้าย นอกจากลูกในท้องที่ไม่มีใครรับเป็นพ่อ ผู้หญิงคนนั้นก็ไม่เหลือใครข้างกายอีกเลย
วันนี้เธอคงได้รู้ซึ้งแล้วว่าหัวอกของผู้หญิงที่ผู้ชายทิ้งไปมี “บ้านอีกหลัง” นั้น มันเจ็บปวดเพียงใด!
หากใครเจอเหตุการณ์เหล่านี้ สิ่งที่ควรกระทำคือ กลับมามองบทบาทหน้าที่ของตนในแนวทางที่ถูกต้อง พ่อที่ประพฤติ
ผิดไปก็กลับตัวกลับใจ แม่ที่เสียใจก็หันกลับมาทำหน้าที่แม่ให้ดีที่สุด เพื่อดำรงตนให้เป็นที่พึ่งพิงอาศัยของลูกได้อย่ าง
มีประสิทธิภาพต่อไป