โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ อาการบ่งชี้ที่น่าสงสัยว่าอาจป่วย
– ใจร้อน โผงผาง
– อารมณ์ขึ้นลงเร็ว โกรธง่าย หายเร็ว แต่หากโมโหมาก มักมีเรื่องขัดแย้งรุนแรงกับคู่กรณีเสมอ (ถึงขั้นลงไม้ลงมือ)
– หุนหันพลันแล่นไม่มีความยับยั้งชั่งใจ
– เอาแต่ใจสุด ๆ
– วอกแวกง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียนหรือทำงาน
– รอคอยอะไรนาน ๆ ไม่ค่อยได้
– ชอบทำอะไรหลายอย่ างพร้อม ๆ กัน แต่มักจะทำไม่สำเร็จแม้แต่ชิ้นเดียว
– ไม่รู้จักแบ่งเวลา ไม่มีความสามารถในการบริหารจัดการเวลา
– ชอบผัดวันประกันพรุ่ง
– นั่งอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้นาน ชอบเขย่ าขา ลุกเดินบ่อย ๆ หรือเล่น/คุยโทรศัพท์ แม้ในขณะขับรถก็ตาม
– เบื่อง่าย ต้องการสิ่งเร้าใจอยู่เสมอ
– ไม่มีระเบียบวินัยในตนเอง ห้องหรือที่อยู่อาศัยรกรุงรัง
– เปลี่ยนงานบ่อย เนื่องจากความผิดพลาดจากการทำงาน หรือปัญหากับเพื่อนร่วมงาน
– มาสาย ผิดนัดบ่อย ไม่ใส่ใจกับธุระของผู้อื่น เคร่งครัดเฉพาะเรื่องที่ตนสนใจเท่านั้น
– พฤติกรรมก้าวร้าว มักมีปัญหากับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะคนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่ผู้บังคับบัญชาก็ตาม
– ชอบขับรถเร็วมากจนเสี่ยงกับการเกิดอุบัติเหตุ
– ชอบใช้จ่ายโดยไม่ยั้งคิด มักสร้างหนี้ต่อเนื่อง
– คุยโอ้อวดความสามารถของตนเอง
– ไม่มีสมาธิจดจ่อ ไม่สามารถรับฟังผู้อื่นพูดนาน ๆ ได้ ส่งผลให้ไม่มีความรอบคอบในการทำงาน
– ขี้หลงขี้ลืม
– ไม่มีความมั่นใจในตนเอง
– ชอบโพล่งขึ้นมาดื้อ ๆ ในวงสนทนา ชอบขัดจังหวะ หรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่มีความยั้งคิดมาก่อน
– ไม่มีแรงบันดาลใจในการทำสิ่งใด ๆ ก็ตาม ทำให้มีลักษณะนิสัยจับจด ไม่ประสบผลสำเร็จในอะไรสักอย่ าง
– กระสับกระส่าย มีอาการวิตกกังวลแม้แต่กับเรื่องเล็ก ๆ
– ติดแอลกอฮอล์ หรือมีประวัติใช้สารอันตรา ย
– มีแนวโน้มหย่ าร้าง เนื่องจากปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว
อย่ างไรก็ดี การวินิจฉัยของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่อาจทำได้ย าก เนื่องจากผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค โดยจะรู้ตัวอีกที
ก็ต่อเมื่อมีปัญหาบางอย่ างเกิดขึ้นในชีวิต เช่น ต้องเปลี่ยนงานบ่อยจนน่าผิดสังเกต มีปัญหาการเข้าสังคมอย่ างรุนแรง
และปัญหาเหล่านี้ต้องผลักดันให้ผู้ป่วยมาพบจิตแพทย์ ทว่าหากผู้ป่วยมีประวัติการป่วยตั้งแต่วัยเด็ก กรณีนี้อาจนำไป
สู่การบำบัดรักษาที่ง่ายยิ่งขึ้นค่ะ
ทว่าหากลองสำรวจแล้วพบว่ามีอาการตรงกับลักษณะนิสัยของตัวเองมากเกินครึ่งหนึ่ง แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อ
วิเคราะห์อาการและหาทางออกจะดีกว่า