10 เรื่องการเงิน ที่มนุษย์เงินเดือน ยิ่งทำเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี
คำแนะนำสำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคน เพื่อความมั่นคงของตัวเองและครอบครัว
1 : เพิ่มเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว เปิดให้ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสมทบเพิ่มได้ (สูงสุดไม่เกิน 15%
ของเงินเดือน) โดยนายจ้างไม่ต้องเพิ่มตามบางคนอาจจะเกี่ยงงอนอย ากสมทบเท่านายจ้าง แต่นี่คือ “เงินออม” ของ
ตัวเราเอง ยิ่งออมมาก ก็ยิ่งมีความมั่นคงทางการเงินมาก เงินสมทบนี้นำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย
2 : ศึกษาสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ
ทั้งสิทธิที่ได้จากกองทุนประกันสังคม และสิทธิการรักษาพย าบาล จากการประกันกลุ่มที่บริษัทมีให้ ดูว่าเราได้รับการ
คุ้มครองครบถ้วนหรือยัง หากมีส่วนใดที่ไม่มีก็ต้องรู้จักรักษาสิทธิของตัวเอง
3 : ทำประกันให้ครอบคลุม
อย่ ามัวแต่โฟกัสที่ “ประกันสุขภาพ” แล้วมองข้ามความสำคัญของ “ประกันอุบัติเหตุ” และ “ประกันชีวิต” เมื่อเราอายุน้อย
“สินทรัพย์ที่มีค่าที่สุด คือตัวเราเอง” ลองคิดว่าหากเกิดอุบัติเหตุจนทุพพลภาพ เราจะใช้ชีวิตที่เหลืออย่ างไร หรือหาก
เสียชีวิต ใครจะดูแลพ่อแม่และครอบครัวของเรา
4 : ออมเพิ่มผ่านกองทุน LTF/RMF
เป็นช่องทางการออมและการลงทุนระยะย าว อายุเรายังน้อย การลงทุนในหุ้นผ่าน LTF/RMF ตั้งแต่อายุยังน้อย จะช่วย
ให้เงินออมโตเร็ว และยังช่วยลดหย่อนภาษีได้ด้วย
5 : เตรียมเก็บเงินก้อนสำหรับการซื้อของชิ้นใหญ่
เช่น บ้าน หรือ รถ อย่ างน้อย “เงินดาวน์” ควรเป็นเงินที่เราเก็บเอง เ พ ร า ะถ้ากู้เงินมาดาวน์ด้วย เราจะเป็นหนี้ซ้ำซ้อน
ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่อีกอัน คือค่าเล่าเรียนลูก ควรเตรียมเก็บไว้เลย
6 : หาความรู้เรื่องการลงทุนติดตัว
บางคนเก็บเงินเก่งมาก แต่ “ลงทุน” ไม่เป็น เก็บได้เท่าไหร่ก็ฝากธนาคารอย่ างเดียว ดอกเบี้ยต่ำเตี้ย เงินออมโตช้ามาก
ควรหาความรู้เรื่องการลงทุนทำให้เงินออมโตเร็วในระยะย าว สำหรับคนที่มีงานประจำและไม่มีเวลา แนะนำให้ออมเงิน
ผ่าน “กองทุนรวม” ยกให้มืออาชีพบริหารเงินแทนเราดีกว่าครับ
7 : คิดให้รอบคอบก่อนจะเรียนต่อปริญญาโท
อย่ าเรียนเพียงหวังใบปริญญา แต่ควรเรียนเพื่อต่อยอดความรู้ สำหรับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และเรียนเพื่อสร้าง
เครือข่ายเพื่อนใหม่หากฐานะการเงินยังไม่มั่นคง ควรเลือกเรียนหลักสูตร part-time ที่ช่วยให้เราสามารถเรียนไปและ
ทำงานไปได้
8 : อย่ าเอาอย่ างเพื่อน
เห็นเพื่อนที่ออฟฟิศซื้อจักรย านราคาแพงมาก็อย ากได้บ้าง หรือเห็นเพื่อนบ้านไปเที่ยวยุโรปทุกปีก็อย ากไปบ้าง ให้เตือน
ตัวเองเสมอว่าต้นทุนของแต่ละคนไม่เท่ากัน และอย่ าลืมว่า เพื่อนบางคนมันก็ทำไปเ พ ร า ะอย ากอวด แต่เบื้องหลังมันก็
เป็นหนี้หัวโตเหมือนกัน
9 : ตกลงกับแฟนเรื่องเงินให้ชัดเจน ตั้งแต่ “ก่อน” แต่งงาน
โดยธรรมชาติคู่สมรสส่วนมาก จะมีรายได้หรือฐานะทางการเงินไม่เท่ากัน หากไม่ตกลงกันตั้งแต่แรก แล้วไปคาดหวังว่าทั้ง
2 ฝ่าย จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเท่ากัน จะทำให้เกิดทะเลาะกันได้เราจึงควรคุยกับแฟนให้ชัดเจนตั้งแต่ก่อนแต่งงานว่าใครจะ
รับผิดชอบค่าใช้จ่ายอะไร ใครจะผ่อนบ้าน ใครจะผ่อนรถ แล้วควรจะมีเงินตรงกลางที่เป็นค่าใช้จ่ายร่วมกันของครอบครัว
10 : อย่ า “ทุ่ม” กับลูกคนแรกมากเกินไป
ธรรมชาติของพ่อแม่ทุกคนที่จะ “เห่อ” ลูกคนแรก อย ากดูแลอย่ างดีที่สุด อย ากซื้อเสื้อผ้า ของเล่น และของใช้ส่วนตัว
อย่ างดีให้ลูกแม้จะตั้งใจมีลูกคนเดียว แต่อย่ าลืมว่าค่าใช้จ่ายของลูกยังจะตามมาอีกมหาศาล กว่าเค้าจะเรียนจบมีงาน
ทำและมีรายได้ของตัวเอง