“รวย” แปลว่า “มีมาก” แต่ไม่ได้แปลว่า “มีความสุข”
“พอเพียง” แปลว่า “มีพอ” ก็ไม่ได้แปลว่า “ทุกข์” หรือ “สุข”
ทานบุฟเฟ่มื้อหรู ราคาหลักพัน กินข้าวราดแกงข้างทาง จานละ 50 บาท
เมื่อกินแล้ว ก็จบตรงที่อิ่มเหมือนกัน
“วัยรุ่น” มักวัดคุณค่าด้วยการดูว่า ใช้มือถือรุ่นไหน
“วัยทำงาน” มักวัดคุณค่าจากรถที่ขับราคาเท่าไหร่ ไปเที่ยวต่างประเทศบ่อยแค่ไหน
“วัยกลางคน” มักวัดคุณค่าจากตำแหน่ง บ้านหรือคอนโดราคาแพงแค่ไหน
ส่งลูกเรียนที่ไหน ค่าเทอมเท่าไหร่
“วัยเกษียณ” วัดคุณค่าจากการมีเวลาว่างในชีวิตวัยเกษียณแค่ไหน ยิ่งมีมาก แสดงว่าคนนั้นรวยมาก
ไม่ต้องทำงานหนัก ใช้ชีวิตสบายหลังเกษียณ
“วัยชรา” ฐานะไม่ใช่ประเด็นแล้ว ขอแค่มีเงินพอใช้ชีวิตแต่ละวันและต้องการร่างกายที่ยังแข็งแรง เดินไหว
ไม่มีโรคไม่ต้องกินยา ยังจำชื่อลูกหลานได้ แบบนี้เรียกได้ว่า รวยยิ่งกว่ารวย
เพราะท้ายที่สุด ทุกคนจะค้นพบว่าทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุด คือ “ตัวเราเอง ร่างกายของเรา สุขภาพของเรา”
ครั้งหนึ่งอาจเคยใช้ “ร่างกายของเรา” แบบเปลืองมากๆ พอถึงบั้นปลายของชีวิต
จะพบว่าคนที่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่คนที่มีเงินมากมาย แต่เป็นคนที่มีสุขภาพดีทั้งกายใจ
และมีเวลาเหลือมากพอที่จะใช้เงินที่หามาได้อย่างมีความสุข