ฉันจำต้องเป็นหนี้.. แต่วันนี้ไม่มีจ่าย.. ทำไงดี?
ถ้าเป็นหนี้ไปแล้ว มันก็มีแต่ต้องแก้ไขให้มันผ่านพ้นไปให้ได้ ด้านล่างนี้คือสิ่งที่ต้องทำ และสิ่งที่่จะเกิดขึ้นเมื่อเราเป็นหนี้ค่ะ
1 : ฉันต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย
2 : ฉันต้องไม่กู้เงินเพิ่ม
ฉันต้องประหยัดให้มากที่สุด ซื้อแต่ของที่จำเป็นจริง ๆ ฉันต้องใช้จ่ายด้วยเงินสด ฉันต้องใช้จ่ายอย่ างมีสติด้วย
3 : ฉันต้องจัดสรรหนี้ – รีไฟแนนซ์ – ปรับโครงสร้างหนี้ ฉันต้องเลือกใช้หนี้ก้อนใหญ่ก่อน เพื่อลดยอดเงินให้น้อยลง
ก้อนใดผ่อนไม่ไหวจริง ๆ ฉันต้องรีบคุยกับทางเจ้าหนี้เพื่อขอรีไฟแนนซ์เพื่อยืดระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ของฉัน
ให้นานขึ้น
4 : ฉันต้องหาเงินเพิ่มด้วยการทำงานพิเศษ
5 : ฉันต้องหาแหล่งเงินกู้ดอกต่ำ เมื่อฉันไม่มีทางเลือกในการใช้หนี้แล้ว ทางออกอีกทางที่จะสามารถช่วยฉันได้คือ
ต้องหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสวัสดิการพนักงาน สหกรณ์ บริษัทที่ทำงานอยู่
หรือถ้ามีประวัติทางการเงินดี ก็อาจจะหายืมจากเพื่อนหรือคนรู้จัก รวมไปถึงคนในครอบครัวก็เป็นอีกทางหนึ่ง
6 : ฉันต้องทำสัญญาประนอมหนี้ เมื่อถึงวันที่เจ้าหนี้ฟ้องร้องต่อศาล และฉันได้รับหมายศาล ฉันต้องไปเจรจาไกล่
เกลี่ยขอลดดอกเบี้ยและขอผ่อนชำระรายเดือน โดยจะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตามกฎหมาย
7 : ฉันต้องปล่อยให้ยึดทรัพย์ และนำสินทรัพย์ไปเปลี่ยนเป็นเงิน เมื่อฉัน ไม่สามารถ ใช้หนี้ได้ เจ้าหนี้ก็ทำหน้าที่ฟ้อง
เพื่อยึดทรัพย์ แต่การยึดทรัยพ์จะไม่สามารถจะยึดได้ทุกอย่ าง โดยเฉพาะ เครื่องใช้ในครัวเรือนที่จำเป็นในการดำรง
ชีวิต มูลค่ารวมกัน 50,000 บาทแรกห้ามเจ้าหนี้ยึด เช่น โต๊ะรับประทานอาหาร เก้าอี้ โทรทัศน์ เครื่องครัวแต่ถ้าเป็น
เครื่องประดับ สร้อย แหวน นาฬิกา สามารถยึดได้เป็นต้น และฉันสามารถนำเครื่องใช้นั้นไปเปลี่ยนเป็นเงิน
เพื่อมาใช้หนี้ได้
8 : ฉันต้องยอมล้มละลาย เมื่อศาลพิจารณาเห็นแล้วว่าฉันมีหนี้สินล้นเกินตัว จนไม่สามารถชำระคืนได้ หลังจากที่ฉันถูก
ดำเนินการยึดทรัพย์สินไปแล้ว แต่มูลค่าก็ยังไม่พอจ่ายหนี้ และมีจำนวนหนี้เกินกว่า 1 ล้านบาท ฉันจะถูกฟ้องเป็นบุคคล
ล้มละลาย เมื่อฉันเป็นบุคคลล้มละลาย ต้องรอเวลาถึง 3 ปี สถานะนั้นจึงจะหายไป วิธีนี้เป็นทางเลือกสุดท้ายของฉัน
9 : ฉันต้องเริ่มต้นชีวิตใหม่ “สิ่งทีสำคัญที่สุดคือ ตัวเราเอง เราต้องปรับเปลี่ยนนิสัยในการใช้จ่ายก่อน ต้องใช้จ่ายอย่ าง
รอบคอบและมีสติ โดยวางแผนการเงินให้ถูกต้องและเหมาะสมกับชีวิตตัวเอง”