พร้อมไว้ ชัวร์กว่า กับ 5 กองทุนเพื่อวัยเกษียณ
เคยคิดกันไหม? ว่าหลังเกษียณที่ไม่มีรายได้แล้ว เราจะใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วยเงินจากแหล่งใด? ถ้าคำตอบคือ
เงินเก็บ คำถามคือ…เพื่อนๆ มีเพียงพอแล้วหรือยัง วันนี้เรามีกองทุนที่เป็นแหล่งเงินออมไว้ใช้ย ามเกษียณมาฝาก
มีอะไรบ้างไปติดตามกันค่ะ
1 : กองทุนประกันสังคม
เป็นกองทุนที่เป็นหลักประกันแก่ผู้ประกันตนว่าจะได้รับประโยชน์ทดแทนเมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตรวมไปถึง
กรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงาน และชราภาพ โดยเงินสมทบนี้จะมีการจ่ายเข้ากองทุน 3 ส่วนด้วยกัน นั่นคือ
จากลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล ซึ่งผลประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพนี้จะได้รับเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
-ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ : กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
-ได้รับเงินบำนาญชราภาพ : กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนขึ้นไป
ตัวอย่ าง : กรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ( มนุษย์เงินเดือน ) ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยเดือนสุดท้ายสูงสุดที่ 15,000 บาท
สมทบครบ 180 เดือน ( 15 ปี ) จะได้รับบำนาญเดือนละ 3,000 บาททุกเดือน และหากสมทบเกิน 180 เดือน
( 15 ปี ) ก็จะได้เงินบำนาญเพิ่มปีละ 225 บาท ( รายละเอียดเพิ่มเติม : สำนักงานประกันสังคม )
2 : กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ( PVD )
เป็นกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้าง จัดตั้งขึ้นร่วมกันด้วยความสมัครใจ ส่งเสริมให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณ
ออกจากกงาน หรือทุพพลภาพ แหล่งเงินออมจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบ่งได้เป็น 4 ส่วนดังนี้
โ ด ยเงินจากกองทุนทั้ง 4 ส่วนนี้ ลูกจ้างจะได้รับ เมื่อพ้นสภาพ จากการเป็นสมาชิกกองทุน กรณีออกจากงานอายุครบ
55 ปีบริบูรณ์ และ เป็นสมาชิกกองทุนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือพ้นสภาพจากเหตุทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตเงินจาก
กองทุนดังกล่าว จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีทั้งจำนวน แต่หากเราออกจากงานก่อนอายุครบ 55 ปี เพื่อน ๆ ควรนำ
เงินที่ได้รับดังกล่าวไปลงทุนต่อใน RMF for PVD เพื่อเป็นแหล่งเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณ และจะได้รับยกเว้นภาษี
3 : กองทุนรวมส่งเสริมการออมระยะย าว ( SSF ) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( RMF )
ทั้ง 2 กองนอกจากจะส่งเสริมการออมระยะย าว เป็นแหล่งเงินออมเพื่อการเกษียณแล้ว การลงทุนในกองทุน
ทั้ง 2 กองนี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และยังได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนอีกด้วย
4 : กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ( กบข. )
เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินออมไว้ใช้ย ามเกษียณแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการมีลักษณะใกล้เคียง
กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานเอกชน ประกอบไปด้วยเงิน 4 ส่วนนั่นคือ เงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย
เงินประเดิม โดยกองทุนจะนำเงินไปลงทุนเพื่อข
ย ายดอกผลตามนโยบายที่ประกาศไว้ และเมื่อข้าราชการซึ่งก็คือสมาชิกกองทุนสิ้นสุดสมาชิกภาพ เช่น เกษียณอายุ
ราชการเมื่ออายุครบ 60 ปี ก็จะสามารถเลือกรับเงินกองทุน เป็นบำเหน็จหรือบำนาญไว้ใช้หลังเกษียณได้ ( รายละ
เอียดเพิ่มเติม : กองทุนบำเหน็จบำนาญข้ารายการ )
5 : กองทุนการออมแห่งชาติ ( กอช. )
คือ กองทุนการออมภาคสมัครใจที่รัฐจัดให้กับแรงงานนอกระบบที่มีอายุตั้งแต่ 15-60 ปี ไม่อยู่ในระบบสวัสดิการบำเหน็จ
บำนาญอื่นของรัฐ หรือเป็นผู้ประกันตน ม.40 ทางเลือก 1 ได้มีเงินเก็บออมไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ โดยจะได้รับสิทธิเงิน
บำนาญรายเดือนขั้นต่ำ 600 บาท เมื่อส่งเงินออมสะสม 13,200 บาท/ปี อย่ างน้อย 10 ปี ซึ่งหากส่งเงินสะสมในระยะ
เวลาที่มากกว่า 10 ปี เงินบำนาญรายเดือนก็จะมากขึ้นตามไปด้วย (รายละเอียดเพิ่มเติม : กองทุนการออมแห่งชาติ)
จะเห็นนะคะว่า กองทุนที่เป็นแหล่งเงินออมเพื่อการเกษียณมีอยู่หลายกองให้เลือกลงทุนได้ ตามอาชีพหรือความสมัครใจ
แต่ไม่ว่าจะกองทุนไหนล้วนแต่ส่งเสริมให้เราเห็นความสำคัญของการมีเงินเก็บออมไว้ใช้หลังเกษียณ..อ่านบทความนี้จบ
แล้ว ก็อย่ าลืมเลือกลงทุนในกองทุนเพื่อการเกษียณที่เหมาะกับตัวเราน้า หวังว่าเพื่อนๆ ทุกคนจะมีความสุขกับชีวิตเมื่อ
เกษียณทุกคนค่ะ