ปัจจุบันหลายคนไม่ได้มองปัญหาการกลั่นแกล้งในสังคมว่าเป็นเรื่องธรรมดาหรือเรื่องสนุกที่หยอกล้อกันแค่ในกลุ่มเพื่อนอีกต่อไป
แต่เป็นปัญหาสำคัญที่ทุกคนต้องช่วยกันหาทางออก ไม่ว่าจะทั้งวัยเด็ก วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ ก็ต่างได้รับผลกระทบด้วยกันทั้งนั้น
ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าการบู ลลี่คืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร ประเภทของการบู ลลี่มีอะไรบ้าง และเราจะแก้ปัญหาการบู ลลี่
ในสังคมได้อย่ างไรบ้างพฤติกรรมการกลั่นแกล้ง ข่มเหงรังแก หรือการแสดงท่าทีที่มีความรุนแรงไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้วาจาหรือ
การลงมือกระทำทางร่างกาย ด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ซึ่งส่งผลกระทบให้ผู้อื่นได้รับความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ
และรู้สึกด้อยคุณค่าความหมายของการบูล ลี่นั้นกว้างมาก นั่นก็เ พ ร า ะว่าการรังแก ข่มเหงนั้นมาได้ในหลายรูปแบบ หลายวิธี
ทำไมการบู ลลี่ถึงเป็นปัญหา
ปัญหาการบู ลลี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่ างย าวนานแล้วในอดีต ซึ่งในปัจจุบันในหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็ได้มีคนให้ความสนใจ
และตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมดังกล่าวมากขึ้นจากผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยติดอันดับ 2 ของการถูกกลั่น
แกล้ง ข่มแหงรังแกในโรงเรียน เป็นรองแค่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นและข้อมูลจากกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติร า ยงานว่าใน
แต่ละปีมีนักเรียนตกเป็นเยื่อของการถูกรังแกมากกว่า 3.2 ล้านคน อีกทั้งมีเด็กและเ ย าวชนประมาณ 160,000 คน ถูกกลุ่มเพื่อน
ที่โรงเรียนกลั่นแกล้ง ข่มเหงรังแก จนถึงขนาดไม่กล้าไปโรงเรียนสำหรับในปัจจุบันที่สื่อเข้ามามีบทบาทกับเด็กและเย าวชนได้
มากขึ้นซึ่งการใช้สื่อในโลกออนไลน์นั้น มีอิทธิพลอย่ างมากต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งกันของเด็กและเย าวชน รวมไปถึงผู้ใหญ่
บางคนอีกด้วยในประเทศไทยพบว่า กลุ่มเย าวชนมากกว่าร้อยละ 50 มีพฤติกรรมการกลั่นแกล้ง ข่มเหงรังแกและคุกคามกันบน
โลกไซเบอร์ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น เรียกว่า Cyber Bullying ซึ่งเป็นปัญหาที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ทั้งในปัจจุบัน
หากเป็นกรณีของนักเรียน หรือนักศึกษาอาจมีผลทำให้ผลการเรียนลดลงและมีแนวโน้มที่อาจจะออกจากโรงเรียนกลางคันมาก
ขึ้นอีกด้วยสำหรับผู้ที่มักจะข่มเหงรังแก หรือกลั่นแกล้งผู้อื่นก็น่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน เ พ ร า ะด้วยการทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
จนติดเป็นนิสัย ทำให้มีโอกาสเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีทัศนคติที่ไม่ดี ชอบใช้ความรุนแรงกับคนใกล้ตัวและอาจจะพลาดพลั้งก่อ
อาชญากรรมได้โดยไม่ทันระวังตัวจนกลายเป็นอาชญากรในที่สุด
สาเหตุของการบู ลลี่
นักวิจัยได้พย าย ามหาสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งข่มเหงผู้อื่นโดยสามารถระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้
1 : ปัจจัยด้านชีวภาพ – ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมก้าวร้าวทางด้านชีวภาพมากขึ้น เช่น
พันธุกรรม ฮอร์โมนและสมอง เป็นต้น ซึ่งไม่เพียงแต่เกิดจากสาเหตุด้านจิตใจหรือสังคมเท่านั้นคนบางคนอาจจะมีปัญหาด้าน
การผลิตฮอร์โมนออกซิโทซิน (oxytocin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรามีความสุขเวลาเข้าสังคม ได้รับการยอมรับ หากฮอร์โมน
ประเภทนี้หายก็อาจจะทำให้มีความเห็นอกเห็นใจในคนอื่นน้อยลง
2 : ปัจจัยด้านจิตวิทย า – เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่อิทธิพลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้ง ข่มเหงรังแกในหมู่เด็กและเย าวชน ได้แก่
การที่มีความพึงพอใจในตนเองต่ำ เช่น หากรู้สึกว่าตนเองไม่เก่ง หน้าตาไม่ดีหรือไม่ได้ร่ำรวยมากมาย ก็อาจจะมองหาวิธีการที่
ทำให้รู้สึกว่าตนเองดีกว่าคนอื่นๆ โดยการกดคนอื่นให้ต่ำกว่าตนเอง เป็นต้นและนักจิตวิทย ายังได้อธิบายถึง ความไม่สมดุลของ
อำนาจของทั้งผู้ที่มีพฤติกรรมกลั่นแกล้ง ข่มเหงรังแกผู้อื่น และผู้ที่โดนกลั่นแกล้ง โดนรังแก คือ ทั้งสองฝ่ายโดยทั่วไปมักจะมี
ลักษณะที่ไม่สมดุลหรือตรงกันข้ามกัน เช่น คนที่ตกเป็นเหยื่อ มักจะมีขนาดร่างกายที่เล็ก ในขณะที่ผู้รังแกจะมีขนาดร่างกาย
ใหญ่ หรือคนที่ชอบกลั่นแกล้ง รังแกอาจจะมีความรู้สึกที่เป็นปมด้อยบางเรื่องในชีวิต จึงมักจะอย ากข่มคนที่เด่นกว่าตนเอง
หรือระบายความรู้สึกที่เป็นปมด้อยนั้นออกมา
3 : ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม – เป็นปัจจัยที่มีความหลากหลายซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กและเย าวชนเป็นอย่ างมาก เช่น
การเป็นคนที่เคยถูกกลั่นแกล้งมาก่อน อย่ างการเติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่มีการเลี้ยงดูที่ใช้ความรุนแรงหรือการอยู่ในกลุ่มเพื่อน
ที่มีความก้าวร้าวและชอบใช้ความรุนแรง และพวกเขาก็จะรู้สึกว่าต้องระบายความโกรธที่ตัวเองได้รับนี้ให้กับผู้อื่น อีกทั้งสื่อต่างๆ
ที่มีความรุนแรงอย่ างภาพยนตร์หรือละครบางเรื่องก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งเหมือนกัน
4 : ปัจจัยด้านสังคม – การอยู่ในสังคมที่มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนค่านิยมต่างๆ หรือ
แม้แต่ความพิการ ความแตกต่างเหล่านี้จะถูกนำมาล้อเลียน จนนำไปสู่การปฎิบัติกับเหยื่อแบบที่ไม่เท่าเทียมกับคนอื่น เพียง
เ พ ร า ะความแตกต่าง
ประเภทของการบู ลลี่
ปัจจุบันกรมสุขภาพจิตได้แบ่งประเภทของการบู ลลี่ออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1 : การบู ลลี่ด้านร่างกาย (Physical Bullying) เป็นลักษณะของการทำไม่ดีต่อร่างกายของอีกฝ่าย เช่น การชกต่อย การตบตี
การผลัก เป็นต้น จนทำให้เกิดความเสียหาย การเจ็บต่อร่างกาย ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากภายนอก และในบางกรณีก็อาจจะ
ส่งผลต่อสภาพจิตใจอีกด้วย
2 : การบู ลลี่ด้านสังคมหรือด้านอารมณ์ (Social or Emotional Bullying) เป็นลักษณะของการสร้างกระแสสังคมรอบข้าง
โดยใช้วิธีการยืมมือของคนรอบข้างให้ร่วมกันทำไม่ดีกับเหยื่อ กดดันและทำให้คนที่ตกเป็นเหยื่อของการบู ลลี่แยกออกจากกลุ่ม
ด้วยความรู้สึกเจ็บปวดหรือเสียใจจากการกระทำดังกล่าว เช่น การขัดขว้างไม่ให้คนที่ตกเป็นเหยื่อมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆหรือ
การหลบไม่ให้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม รวมไปถึงการโน้มน้าวชักจูงคนรอบข้างให้ไม่สนใจเหยื่อที่ถูกบู ลลี่ ส่งผลทำให้คนที่
ถูกบู ลลี่รู้สึกว่าตัวเองไร้ตัวตน ไม่มีเพื่อน ไม่มีคนคุยด้วย ไม่มีใครคบ และหาทางออกจากปัญหานี้ไม่ได้
3 : การบู ลลี่ด้านวาจา (Verbal Bullying) เป็นลักษณะของการพูดจาเหยียดหย าม การด่าทอ ดูถูก นินทา เสียดสี ล้อเลียน
ใส่ความ การประจานด้วยคำพูดให้คนอื่นได้ยิน โดยมีจุดประสงค์ให้เกิดความเจ็บปวด ถึงแม้ไม่ได้สร้างแผลทางกายให้เห็น
แต่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกซึ่งถือเป็นแผลทางใจอยู่ไม่น้อย และนอกจากจะสร้างความอับอาย ความวิตกกังวลแล้ว ยังอาจ
จะสร้างความเครียด รวมถึงอาการเก็บกด ซึ่งอาจส่งผลถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้า หรือหวาดกลัวสังคมไปเลย
4 : การบู ลลี่บนโลกออนไลน์ (Cyber Bullying) เป็นอีกประเภทหนึ่งของการบู ลลี่ที่เกิดขึ้นใหม่ในปัจจุบันและกำลังเป็นประเด็น
ปัญหาสำคัญในสังคม โดยใช้เครื่องมือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตที่เชื่อมต่อกับเครือ
ข่ายสังคมออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์
การแก้ปัญหาการบู ลลี่ในสังคม
ในปัจจุบันพบเห็นการบู ลลี่กันในสังคมมากมายจนหลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องปกติ และถอดใจที่จะคิดแก้ปัญหาไปแล้ว แต่
ผมอย ากนำเสนอแนวคิดอีกมุมมองในการแก้ไขปัญหาดังนี้
การแก้ไขปัญหาการบู ลลี่ในสังคมนั้น ต้องเริ่มจากสถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นสถาบันหลักที่ต้องมี
หน้าที่คอยปลูกฝังให้เด็กหรือเย าวชนนั้น รู้จักการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การเอาใจเขามาใส่ใจเราและตระหนักได้ถึงผลของการ
กระทำต่างๆ จนเป็นนิสัยติดตัวตั้งแต่เล็กๆ เมื่อเด็กหรือเย าวชนเข้าใจและตระหนักได้ถึงผลดีและผลเสียจากการกระทำของ
ตนเอง พวกเขาก็จะไม่ไปบู ลลี่คนอื่นในเรื่องของการเห็นอกเห็นใจนั้น ถึงแม้หลายๆคนคิดว่าเป็นสิ่งที่เราต้องมีตั้งแต่เกิด แต่ใน
ความจริงแล้ว การเห็นอกเห็นใจก็เป็น ‘ทักษะ’ ที่สามารถฝึกได้อย่ างหนึ่ง สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ครับการเห็นใจ
เห็นใจผู้อื่น เริ่มยังไงดี
การให้คำปรึกษาเพื่อช่วยเหลือคนที่มีความทุกข์หรือไม่สบายใจในเรื่องต่างๆ และยังป้องกันการนำความทุกข์หรือปมด้อย
ของตัวเองไปลงที่คนอื่นด้วยการบู ลลี่ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ผิด โดยการให้คำปรึกษาจะเป็นร ายบุคคลหรือการให้คำปรึกษาเป็น
กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่กลั่นแกล้งคนอื่น กลุ่มคนที่ถูกคนอื่นรังแก หรือผู้อยู่ในเหตุการณ์ ตลอดจนการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ
ครอบครัว ในกรณีที่จำเป็นต้องมีพ่อแม่ หรือผู้ปกครองเข้ามาเกี่ยวข้องกับการบู ลลี่
การจัดตั้งทีมช่วยเหลือ เพื่อคอยช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาการบู ลลี่ในสถานศึกษาโดยเฉพาะ และกลุ่มบุคคลที่ควรจะเข้ามา
มี ส่วน เกี่ยว ข้อง กับปัญหานี้ ได้แก่ ครูแนะแนว ครูประจำชั้น ผู้บริหารสถานศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครอง นักให้คำปรึกษา จิตแพทย์
นักกฎหมาย และ ชุมชน เป็นต้น ซึ่งการป้องการ และ แก้ไขปัญหารูปแบบนี้ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพเป็นอย่ างมากใน
ต่างประเทศ เ พ ร า ะได้รับความร่วมมือจากบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเห็นได้ว่าปัญหาการบู ลลี่ในสังคมนั้น โดยพื้นฐาน
ล้วนเกิดจากการไม่มีการปลูกฝังความคิดและทัศนคติที่ถูกต้อง ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ เมื่อตัวเองเกิดความขัดแย้ง
หรือไม่พอใจอะไรบางอย่ าง จนทำให้มีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการกระทำหรือคำพูดนั้นและถ้าเราสามารถแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นเหตุ
โดยการทำให้พวกเขาเข้าใจและตระหนักถึงผลของการกระทำได้ ปัญหาการบู ลลี่ที่มีมาอย่ างย าวนานในสังคมก็จะหมดไป