นักโภชนาการแนะวิธีรับมือ ปัญหา “กินจุกจิก” จาก “ความเครียด”
ความเครียดนั้นเป็นปัญหาที่มักพบได้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่ภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนว่าจะติดหรือไม่ติด
โควิด-19 และแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ยังจะต้องรออีกไม่รู้นานเท่าไหร่ รวมทั้งการถูกจำกัดพื้นที่ให้ทำงานจากที่บ้าน
ด้วยนั้น ก็ดูจะเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างความเครียดเพิ่มขึ้นได้
มีคนบางส่วนที่ตอบรับความเครียดด้วยการกิน ขณะที่บางคนความเครียดทำให้ไม่อย ากทานอะไรเลย แต่สำหรับผู้ที่มี
แนวโน้มจะหยิบฉวยอาหารเข้าปากเพื่อรับมือกับความเครียดนั้น นักโภชนาการได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้
1 : เราควรพย าย ามรู้ตัวและควบคุมสาเหตุที่จะกระตุ้นให้เกิดความเครียดไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นการติดตามข่าวหรือการอ่าน
เรื่องราวที่มีการเผยแพร่ออนไลน์มากเกินไป แต่หากเราไม่สามารถเลี่ยงตัวกระตุ้นความเครียดที่ว่านี้ได้แล้ว คุณคาโรลีน
โอนีล นักโภชนาการผู้หนึ่ง แนะว่าเราควรทำบันทึกรายการอาหารที่หยิบเข้าปากในแต่ละวัน เพื่อช่วยให้เห็นภาพว่าเรา
กินอะไร ที่ไหน และเป็นจำนวนเท่าใด
2 : ถ้าเราอดกินจุกจิกหรือละเว้นของขบเคี้ยวไม่ได้ นักโภชนาการแนะให้เตรียมของกินเล่นในปริมาณที่เหมาะสม
ไปล่วงหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้เผลอตัวกินเพลินจนหมดทั้งถุงใหญ่นั่นเอง
3 : จัดบริเวณครัวและตู้เย็นเสียใหม่ โดยเอาของกินที่ล่อตาล่อใจไปให้พ้นสายตา และเอาของดีที่มีประโยชน์ เช่น
ผักผลไม้ วางไว้ในบริเวณที่เห็นหรือหยิบฉวยได้ง่ายในตู้เย็น ซึ่งจะเป็นประโยชน์เวลาที่เกิดแรงกระตุ้นให้ต้องหา
อะไรกินลดความเครียด
4 : ควรหาเวลาหยุดพักเพื่อจิบชาสมุนไพร หรือกาแฟใส่โกโก้บ้าง เพื่อช่วยบริหารจัดการความรู้สึกของตัวเองไม่ให้
สะสมความเครียดมากจนเบรคไม่อยู่ แต่สุดท้ายหากทนไม่ไหวจริง ๆ และต้องลดความเครียดด้วยการสนองความ
ต้องการของปากกับลิ้นแล้ว นักโภชนาการแนะให้พย าย ามเลือกของว่างลดความเครียดที่มีประโยชน์ เช่น
ช็อกโกแลตดำ ที่อุดมไปด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ เป็นต้น
โดยข้อคิดและเคล็ดลับสำหรับการรับมือกับความเครียดแบบไม่ตามใจปาก ซึ่งทั้งเ พ ศชายและเ พ ศหญิงที่ทำงาน
จากบ้านอาจนำไปใช้ได้ ก็คือ นอกจากการสร้างระยะห่างทางสังคม ถ้าจะให้ดีแล้วควรต้องสร้างระยะห่างที่พอดี
จากครัวและตู้เย็นด้วยเช่นกัน