4 เส้นทางสู่ความมั่นคงทางการเงินตลอดชีวิต
1 : เส้นทางรู้จักหาเงิน
ในช่วงต้น ๆ ของการทำงาน เรายังมีเรี่ยวแรงเหลือเฟือ สามารถทำอะไรก็ได้ตามที่ฝันไว้ และนอกจากแรงกายแล้ว
ยังมีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ๆ จึงสามารถหารายได้จากการทำงาน หรือธุรกิจต่าง ๆ ไปพร้อมกันได้
2 : เส้นทางรู้จักเก็บเงิน
เมื่อรู้วิธีหาแล้ว ต่อมาคือต้องรู้จักเก็บ เก็บออมเพื่อวัยเกษียณ เ พ ร า ะหากไม่ได้เตรียมตัวแน่เนิ่น ๆ หรือออมไว้
น้อยเกินไป อาจทำให้ชีวิตในวัยเกษียณไม่เป็นไปอย่ างที่ต้องการเท่าไรนัก แต่ไม่ได้หมายความว่า เมื่อถึง
วัยเกษียณจะไม่ต้องรู้เก็บอีกแล้ว เ พ ร า ะต้องไม่ลืมว่า ชีวิตนี้ยังอีกย าวไกล หลายคนมีอายุยืนไปได้ถึง
70-80 ปี ขณะที่บางคนย่ างเข้าเลข 9 แล้วก็ยังแข็งแรง ฉะนั้นเก็บก่อนใช้ดีที่สุด
3 : เส้นทางรู้จักใช้เงิน
ในแต่ละวัน เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการ “รู้จักใช้” มากขึ้น โดยวางแผนการใช้จ่ายในแต่ละเดือน แต่ละปี
อย่ างชัดเจนว่า จะมีค่าใช้จ่ายอะไร เป็นเงินเท่าไร และต้องควบคุมให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ด้วย รวมทั้งการ
เตรียมเงินสดเสริมสภาพคล่องไว้ในเวลาฉุกเฉินอย่ างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนวิธีควบคุมรายจ่าย
ให้เป็นไปตามแผนได้ดีที่สุด คือ การจดบันทึกรายได้ ค่าใช้จ่าย หรือที่รู้จักกันดี (แต่ไม่ค่อยทำกัน) คือ
บัญชีรายรับรายจ่ายนั่นเอง
4 : เส้นทางรู้จักขย ายดอกผล
ถ้ารู้วิธีการขย ายดอกผลที่เหมาะสม เงินก้อนนี้จะสามารถออกดอกออกผลมาเป็นรายได้ ทดแทนรายได้ประจำ
ที่หายไปเมื่อวัยเกษียณ หรือเมื่อถึงวันที่ไม่มีแรงหารายได้ได้อีก ลำพังแค่การฝากธนาคาร หรือลงทุนตราสาร
หนี้เพียงอย่ างเดียวจะได้รับผลตอบแทนที่ต่ำมาก ๆ ฉะนั้นจำเป็นต้องกล้าเสี่ยงบ้าง แต่ให้อยู่ในสัดส่วนที่
เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น โดยผสมผสานทั้งการลงทุนตราสารหนี้ หุ้น อสังหาริมทรัพย์
ซึ่งจะลงทุนด้วยตัวเองก็ทำได้ หรือลงทุนผ่านกองทุนรวมก็สะดวกดี
เนื่องจากการลงทุนมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้น และมีระยะเวลาช่วงหนึ่ง ที่คุณยังไม่สามารถนำเงินนั้น
ออกมาใช้ได้ ดังนั้นจำนวนเงินที่สามารถนำไปลงทุนได้ คือ เงินก้อนที่มีอยู่ ตัดด้วยค่าใช้จ่ายจำเป็น ภาระ
ผูกพัน และเงินสำรองเผื่อไว้ใช้ในย ามฉุกเฉิน หรืออีกทางเลือกหนึ่ง คือ ทุกครั้งที่มีรายได้เข้ามา ให้แบ่ง
เงินนั้นออกเป็นส่วน ๆ ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดยแบ่งส่วนหนึ่งมาเลือกออมหรือลงทุนอย่ างสม่ำเสมอ
ตามความเหมาะสม