เก็บเงินให้มีความความสุข กับ 4 วิธี สนุก ๆ ที่ไม่น่าเบื่อ
1 : เก็บ “เหรียญสิบ” ตามวันที่
วันที่ 1 ให้หยอดเหรียญสิบ 1 เหรียญ วันที่ 2 หยอด 2 เหรียญ …วันที่ 10 หยอด 10 เหรียญ หรือจะเปลี่ยนเป็นหยอด
“แบงก์ร้อย” แทนก็ได้ ทำอย่ างนี้ไปเรื่อย ๆ จนวันที่ 30 ก็หยอดไปเลย 30 เหรียญ หรือใส่กระปุกไป 300 บาท
พอสิ้นเดือน คุณก็จะมีเงินเก็บ 4,650 บาท ในเดือนที่มี 30 วัน และ 4,960 บาท สำหรับเดือนที่มี 31 วัน แล้ว
พอสิ้นปี คุณจะมีเงินเก็บอย่ างน้อย 55,800 บาท
2 : เก็บ “แบงก์ 50 บาท” ทุกใบที่ได้รับ
หลายคนพอสิ้นปีถึงกับตกใจ เ พ ร า ะเก็บได้มากถึง 400-600 ใบ หรือประมาณ 20,000-30,000 บาทเลยทีเดียว
ทริคส่วนตัวของเราไม่หวงค่ะ คือ เก็บแบงค์ 50 ที่เป็นรุ่นในหลวง ร.9 ค่ะ
3 : 6 กระปุกหมูสู่ฝัน
วิธีนี้เหมาะมากสำหรับมนุษย์เงินเดือนโดยเฉพาะคนที่อย ากเริ่มต้นเป็นนักวางแผนการเงิน เ พ ร า ะต้องอาศัยการทำ
การบ้านอย่ างหนักในการออกแบบ 6 กระปุกว่าจะประกอบด้วย “เป้าหมายการใช้เงิน” อะไรบ้างและในสัดส่วนเท่าไร
ที่จะเหมาะสม …
กระปุกที่ 1 Living Expenses หรือกระปุกค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยให้ตัดเก็บไว้ก่อนตั้งแต่เงินเดือนออก หลังจาก
นั้นค่าใช้จ่ายประจำเดือนให้ใช้เงินจากในกระปุกนี้เท่านั้น สำหรับสัดส่วนที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้
และความสามารถในการประหยัดของแต่ละคน ซึ่งค่าเฉลี่ยที่เหมาะสมอาจจะอยู่ระหว่าง 50-55%
กระปุกที่ 2 Retirement หรือกระปุกเพื่อวัยเกษียณ ถือเป็นเงินออมระยะย าว โดยสัดส่วนที่เหมาะสมก็ขึ้นกับจำนวน
เป้าหมายที่ต้องมีหลังเกษียณ และระยะเวลาทำงานที่ยังเหลือ แต่ถ้าไม่อย ากคิดมากและไม่ลำบากเกินไป ก็อาจจะ
ตัดไว้ 10% ของเงินเดือนคำแนะนำพิเศษ สำหรับเงินก้อนนี้คือ แทนที่จะนำเงินก้อนนี้ไปใส่กระปุกจริงๆ อาจเปลี่ยน
ไปซื้อ RMF, SSF หรือกองทุนรวมอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
กระปุกที่ 3 Big Goal หรือกระปุกสานฝันใหญ่ ถือเป็นกระปุกที่ต้องมีการวางแผนระยะย าว เ พ ร า ะฝันใหญ่มักใช้เงิน
เยอะ เช่น ไปเที่ยวต่างประเทศ หรือซื้อรถ เป็นต้น สำหรับสัดส่วนก็ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นกับระยะเวลาในการ
เก็บเงิน แต่ถ้าคุณยังไม่มีฝันใหญ่เป็นชิ้นเป็นอันก็อาจจะเลือกเก็บไปเรื่อย ๆ ที่สัดส่วน 10-15% …ข้อดีของกระปุกนี้
คือ จะทำให้เราทำตามความฝันโดยไม่ต้องเป็นหนี้
กระปุกที่ 4 Have Fun หรือกระปุกเพื่อสันทนาการและปรนเปรอตนเอง เรียกว่าเป็นกระปุก “แก้เซ็ง” ก็ว่าได้ เอาไว้จ่าย
เพื่อสนองความอย ากหรือให้รางวัลตัวเองเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ซื้อเสื้อผ้า, ไปกินดื่มกับเพื่อนฝูง ฯลฯ หรือค่าใช้จ่ายเพื่อ
ความสุขส่วนตัวที่อยู่นอกเหนือจาก Living Expenses
กระปุกที่ 5 Life-long Learning หรือกระปุกเพื่อพัฒนาตนเอง เ พ ร า ะยุคนี้เป็นยุคที่คนทำงานอย่ างเราต้องอยู่ร่วม
กับเทคโนโลยีและ AI ให้ได้ ดังนั้น ค่าใช้จ่ายตรงนี้อาจหมายถึงการซื้อหนังสือ ซื้อคอร์ส หรือไป Workshop ต่าง ๆ
โดยสัดส่วนจะเป็นเท่าไร ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน
กระปุกที่ 6 Charity หรือกระปุกออมบุญ เอาไว้สำหรับบริจาคหรือใช้กิจกรรมทำบุญต่างๆ นานา หรือบางคนอาจเปลี่ยน
ชื่อกระปุกนี้เป็น Sharing แล้วเก็บเงินไว้สำหรับเอาไปให้พ่อแม่แทนก็ได้
ต้องย้ำว่า ทั้ง 6 กระปุกที่ยกมาเป็นเพียงไอเดียตัวอย่ างในการวางแผนการเงินในแต่ละเดือน ซึ่งบางกระปุกสำหรับ
บางคนอาจไม่จำเป็น หรือบางคนอาจอย ากมีมากกว่า 6 กระปุก ก็สามารถทำได้ โดยไปปรับสัดส่วนของแต่ละ
กระปุกตามความเหมาะสม …ยกตัวอย่ างหนึ่งในกระปุกที่ควรมีเพิ่มเช่น “กระปุกย ามฉุกเฉิน” ไว้สำหรับเป็น
ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เช่น เข้าโรงพย าบาล หรือมีกระปุกเพิ่ม เช่น “กระปุกเพื่อจ่ายประกัน” เป็นต้น
4 : ลด-ละ-เลิก
เช่น ลด – ชาไข่มุกวันละ 1 แก้ว, ละ-ชาบูอาทิตย์ 1 ครั้ง และ เลิก – ซื้อหวย/ลอตเตอรี่ หรือเลิกบุหรี่ จากนั้นก็ให้นำเงิน
ที่ได้จากการ ลด-ละ-เลิก มาเก็บสะสมไว้ พอครบเดือนลองเอาออกมานับ จำนวนเงินเก็บที่นับได้จะกลายเป็นกำลังใจ
ในการ ลด-ละ-เลิก ซึ่งจะช่วยให้คนที่ตั้ง New Year Resolution ว่า “ปีนี้ ฉันจะผอม” “ปีนี้ ฉันจะสุขภาพดี”
เป็นจริงเร็วขึ้นด้วย
สุดท้ายนี้ ต้องบอกว่า 4 วิธีนี้เป็นเพียงไอเดียตัวอย่ างของการเก็บเงินให้ไม่น่าเบื่อ โดยกุญแจความสำเร็จของ
การออมก็คือ “วินัย” และการนำเงินออมที่ได้ไปสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝาก ภายใต้ความเสี่ยงที่รับได้
และตอบโจทย์ของเงินเก็บก้อนนั้นนะคะ