บททดสอบแรกก่อนแต่งงานต้องรู้จัก “คำขอโทษ ที่ไม่ต้องถามหาเหตุผล”
คิดจะรักกันไปนานๆ…
ต้องรู้จัก “คำขอโทษ ที่ไม่ต้องถามหาเหตุผล”
ลูกชาย : พ่อครับ ผมจะแต่งงานนะครับ
คุณพ่อ : แกต้องขอโทษพ่อก่อน!
ลูกชาย : ทำไมผมต้องขอโทษล่ะครับ?
คุณพ่อ : แกขอโทษก่อนเถอะน่า!
ลูกชาย : เ พ ร า ะอะไร? ผมผิดอะไรครับพ่อ?
คุณพ่อ : แกขอโทษนะถูกแล้ว!
ลูกชาย : ผมทำอะไรผิดเหรอครับพ่อ?
คุณพ่อ : ขอโทษก่อน!
ลูกชาย : ทำไมครับ?
คุณพ่อ : ขอโทษพ่อก่อน!
ลูกชาย : พ่อบอกเหตุผลมาก่อนว่าเ พ ร า ะอะไร?
คุณพ่อ : ขอโทษมาก่อน!
ลูกชาย : ผมอย ากรู้ว่าผมทำผิดอะไรครับพ่อ?
คุณพ่อ : ขอโทษก่อน!
ลูกชาย : ก็ได้ครับ ผมขอโทษพ่อครับ!
คุณพ่อ : ตอนนี้แกแต่งงานได้แล้ว!
นี่เป็นบททดสอบแรกก่อน ที่แกจะแต่งงานเมื่อไหร่ที่แกรู้จักขอโทษ โดยที่ไม่ต้องรู้ถึงสาเหตุและเหตุผล
แกมีคุณสมบัติในการแต่งงานชีวิตครอบครัวของแกจะยั่งยืน ขอโทษ คือทำกล่าวของคนที่ทำความผิด
ความเข้าใจเช่นนี้ถูกต้องแล้วสำหรับคนทั่วไป
แต่สำหรับคู่ชีวิตมิตรสหายหรือครอบครัวบางครั้งก็ต้องพูดออกมาทั้งๆ ที่มันไม่มีที่มาและที่ไปไม่มีเหตุ
และผลให้ถามหาเ พ ร า ะต่อให้เถียงกันจนชนะด้วยเหตุผลของใครคนใดคนหนึ่งผลลัพธ์คือแพ้ราบ
คาบด้วยกันทั้งสองฝ่าย
นี่คือความต้องการของทั้งสองหรือไม่? คำตอบคือ ไม่! แต่ทำไมเวลาไม่เข้าใจกันกลับไม่กล้าขอโทษ
อีกฝ่ายหนึ่งเล่า?
คำตอบ คือ เ พ ร า ะ ทิฐิ หากใครคนใดคนหนึ่ง ง้ออีกฝ่ายหนึ่งก่อนขอโทษอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เธอจงรู้ไว้
เขาอาจไม่ใช่ฝ่ายผิด!แต่เ พ ร า ะเขารักอีกฝ่ายหนึ่งมากกว่าคำว่าฝ่ายใดเป็นผู้ผิดขาเป็นเพียงผู้ที่ยอม
ลดอัตตาของตัวเองลงก่อน
หากเขาผิด แล้วเขาขอโทษนั่นแปลว่าเขารู้ผิดและอย ากแก้ไขหากเราผิด แล้วเขาขอโทษเราก่อน
นั่นแปลว่าเขาถนอมความรู้สึกของเราเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเอ่ยคำขอโทษอีกฝ่ายหนึ่งต้องพร้อมให้อภัย
ให้อภัยโดยไม่ติดใจ
หากให้แต่ปากแต่ติดค้างอยู่ที่ใจสักวันสะเก็ดจะกลายเป็นแผลรุ น แ ร งลุกลามจนเกินเยียวย า
ลูกเอ๋ย จงจำไว้ อีกหนึ่งเคล็ดลับของการประคองชีวิตคู่ก็คือ
“คำขอโทษที่ไม่ต้องมีเหตุผล”