เราอยู่ในยุคของสังคมความไม่แน่นอน ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านหน้าที่การงาน เ พ ร า ะฉะนั้นเงินที่หาได้แต่ละบาท
ทุกๆอย่ างล้วนมีความเสี่ยง หากวันใดวันหนึ่งคุณต้องตกงานหรือเ พ ร า ะเศรษฐกิจตกต่ำ เงินสำรองของคุณถือ
เป็นสิ่งที่จะช่วยชีวิตคุณในอนาคตได้ และคุณควรรู้วิธีการเก็บเงิน หรือตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป
เพื่อช่วยให้คุณมีเงินใช้ในย ามฉุกเฉินได้ !!!
1 : กำหนดเป้าหมายการเก็บเงิน
กำหนดจำนวนเงินที่จะออมภายใน 1 ปี จากนั้นกำหนดเป้าหมายระยะสั้น 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 9 เดือน
เ พ ร า ะถ้ากำหนดเวลานานเกินไป จะทำให้ใช้เงินอย่ างประมาทและลืมเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตั้งเป้าหมาย
ระยะสั้นๆจะทำให้ตื่นตัว และใช้เงินอย่ างประหยัดอยู่เสมอ
2 : ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
ทั้งเรื่องค่าน้ำค่าไฟ การประหยัดพลังงานเหล่านี้ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ ทั้งลดการช้อปปิ้งที่เกินความจำเป็น
ลดการซื้อเสื้อผ้าหรือกระเป๋าบ่อยครั้ง ควรนานๆซื้อทีหรือเสื้อผ้ากระเป๋าหมดอายุการใช้งานแล้ว
3 : เก็บออมเงินก่อน แบ่งใช้จ่าย
การใช้เงินก่อน แล้วค่อยออมจากส่วนที่เหลือถือว่าเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เ พ ร า ะถ้าไม่วางแผนการใช้เงิน
แล้วละก็ เราก็จะใช้เงินที่คิดจะออมจนหมดแน่นอน แต่ถ้าเรากำหนดจำนวนเงินที่ตั้งใจจะออมไว้ก่อนแล้ว
ค่อยใช้เงินจากส่วนที่เหลือ จะได้เงินที่ตั้งใจออมและมีเงินไว้ใช้ได้อย่ างประหยัด
4 : เลือกสินค้าดีราคาประหยัด
เวลาซื้อสินค้าต้องเลือกที่มีคุณภาพดี แต่ราคาประหยัด ถ้าสินค้ามีคุณภาพและปริมาณเหมือนกัน แต่ยี่ห้อ
ต่างกัน ก็ควรเปรียบเทียบราคาดูว่าอันไหนถูกกว่า หรือเลือกสินค้าลดราคา ถ้าเป็นอาหารก็ต้องดูวันหมด
อายุด้วย การทำแบบนี้จะช่วยให้มีเงินออมมากขึ้น
5 : ทำบัญชีการใช้เงิน
มาตรฐานของการออมเงินคือ การทำบัญชีอย่ างละเอียด ต้องจดว่าใช้เงินไปเท่าไร ใช้ทำอะไรบ้าง
ถ้าใช้ไปอย่ างฟุ่มเฟือยก็จะรู้ได้ทันที แม้จะเป็นเงินแค่ 1 บาท ก็ต้องจดไว้เสมอ
6 : ตามล่าธนาคารดอกเบี้ยสูง
ถ้าเปรียบเทียบธนาคารของรัฐบาลกับธนาคารเอกชน ธนาคารเอกชนจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า แต่มี
ความเสี่ยงมากกว่าธนาคารรัฐบาล จึงต้องเลือกให้ดีและคอยติดตามข่าวสารเรื่องดอกเบี้ยอยู่เสมอ
7 : มีธนาคารประจำ
ถ้าต้องทำธุรกรรมต่างๆผ่านธนาคาร เช่นชำระค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ควรเปิดบัญชีธนาคารไว้หนึ่งบัญชี
เพื่อชำระผ่านธนาคารเดียวกัน จะได้ไม่ต้องกังวลว่าถึงกำหนดชะระเมื่อไรและป้องกันการลืมอีกด้วย
8 : ติดตามข่าวสารเศรษฐกิจ
สถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงควรติดตามข่าวเศรษฐกิจทั้งเรื่อง
อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อใช้ในการตัดสินใจออมเงินได้ดีขึ้น